รากฟันเทียมคืออะไร
รากฟันเทียม เป็นวิธีการรักษาฟันที่สูญเสียหรือเสื่อมสภาพไปให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยรากฟันเทียมจะทำจากไทเทเนียม เป็นวัสดุที่มีความปลอดภัยและเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี การทำรากเทียมมีความแข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานที่ยาวนานโดยจะทำการฝังรากฟันเทียมเข้าไปยังตำแหน่งฟันที่เกิดความเสียหาย หรือฟันที่หายไป ด้วยการผ่าตัดนำรากฟันเทียมโลหะฝังลงไปในตำแหน่งของขากรรไกรเพื่อทดแทนตำแหน่งที่สูญเสียไป เพื่อให้รากฟันเทียมสามารถทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกรได้ ในการรักษาฟันโดยการใส่รากฟันเทียม ทันตแพทย์จะนำฟันเทียมใหม่มายึดติดกับรากฟันเทียมอีกที เพื่อให้ฟันที่สูญเสียไปกลับมาใช้งานได้อย่างเดิม โดยรากฟันเทียมจะครอบฟันเทียมที่ยึดติดกับขากรรไกรของเรา จะไม่มีวันหลุดออกจากตำแหน่งอย่างแน่นอนปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมมีเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ออกแบบการทำรากเทียมโดยระบบดิจิตัลและระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รับการรักษามีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเคี้ยวการพูด สะดวกกว่าการต้องใส่ฟันปลอมแบบถอดได้อย่างแน่นอน โดยรากฟันเทียมจะมีอยู่ 3 องค์ประกอบด้วยกัน
ขั้นตอนการรักษาด้วย รากเทียม
การทำรากฟันเทียมเป็นขั้นตอนการรักษาที่ดีที่สุดของการทดแทนฟันใหม่ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากฟันแท้ และไม่ทำให้กระดูขากรรไกลสลายอีกด้วย โดยขั้นตอนการรักษารากฟันเทียมมีดังต่อไปนี้
- ทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปาก เอ็กซเรย์ หรือ CT scan หากจำเป็น จะใช้ทันตแพทย์เฉพาะทางในการทำรากฟันเทียม เพื่อประเมินความหนาของเนื้อเยื่อบนกระดูกขากรรไกร และสันเหงือก อาจใช้การพิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับรากไทเทเนียม
- ทันตแพทย์จะฉีดรากฟันเทียมไทเทเนียมในครั้งแรกโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจึงใส่วัสดุไทเทเนียมลงในกระดูกขากรรไกร เย็บปิดแผล หลังจากผ่านไป 7-14 วัน จะตัดไหมออก และติดวัสดุเสริมเข้ากับกระดูกขากรรไกร หลังจากนั้นรอประมาณ 3-6 เดือน
- ทันตแพทย์จะใส่เครื่องมือที่ช่วยสร้างช่องว่างในเหงือก จากนั้นจึงพิมพ์ปากภายใน 1-2 สัปดาห์เพื่อทำครอบฟัน จากนั้นทันตแพทย์จะสวมครอบฟันลงไป เพื่อให้การบูรณะฟันมีความสมบูรณ์แบบเหมือนกับฟันจริง ๆ มากที่สุด
ระยะเวลาการทำรากฟันเทียม
สำหรับรักษาปลูกรากฟันเทียม มีการแบ่งขั้นตอนในการรักษาเป็น 2 ครั้ง ในการแรกจะทำให้การฝังรากฟันเทียมลงไปในตำแหน่งที่ต้องได้รับการรักษา และรอเวลาประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูก (ขึ้นอยู่กับสภาพของกระดูกของผู้ป่วย) ในครั้งที่สอง มีการใส่ฟันปลอมหรือครอบฟันบนรากเทียมเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ รวม ๆ แล้วระยะเวลาสิ้นสุดการรักษาจะอยู่ที่ 3-6 เดือน
ค่าใช้จ่ายในการรักษา การทำรากฟันเทียม
ค่ารักษารากฟันเทียม Digital
***เริ่มต้นที่ราคา 25,599 บาท/ซี่
รวมครอบฟัน Zirconia
FREE CT SCAN
ทำรากฟันเทียมใช้เวลานานแค่ไหน ?
การทำรากฟันเทียม dental implant ในแต่ละขั้นตอนการทำรากฟันเทียมใช้เวลารวมกันประมาณ 3 เดือน โดยเฉพาะการ ฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูก หรือยึดติดกับกระดูกฝังไปในกระดูกขากรรไกรจะใช้เวลานานที่สุด และครอบฟันบนรากฟันใช้เวลาน้อยสุด
ใส่ฟันปลอมแบบถอนได้สามารถใส่รากฟันเทียมได้หรือไม่ ?
ทำรากเทียมแบบถาวรในขณะที่ใส่ฟันปลอดอยู่ สามารถทำรากฟันเทียมได้ ซึ่งจะส่งผลดีกับการใช้ชีวิตมากขึ้น และยังสามารถฝังรากฟันเทียมทั้งปากได้ด้วย
การทำรากฟันเทียมอายุการใช้งานนานแค่ไหน ?
อายุการใช้งานการทำรากเทียมติดแน่น จะสามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก แปรงฟันใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
การฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกใช้เวลาเท่าไหร่ ?
ทันตกรรมรากเทียม หรือการรักษาด้วยรากฟันเทียมไปในกระดูกขากรรไกร เวลาในการรักษาให้ติดกับกระดูกขากรรไกร ใช้เวลาในการรักษา ประมาณ 3 เดือน ถึง 6 เดือน
ตำแหน่งฟันที่สูญเสียฟันไป การใช้ฟันปลอด กับ การทำรากฟันเทียม แบบไหนดีกว่ากัน ?
การทดแทนฟันที่หายไป ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำรากฟันเทียมมากกว่าหากมีงบประมาณการรักษาเพราะ การทำรากเทียม ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติของเรา รักษาด้วยรากฟันเทียมที่ดีที่สุด ในกรณีมีงบไม่มากพอก็สามารถทำฟันปลอดไปก่อนได้
การเตรียมตัวทำทันตกรรมรากเทียม อย่างไร ?
ในกรณีที่ฟันเสียหายและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรมาก รากฟันเทียมเป็นการรักษาได้เลยทันที หรือในกรณีที่กำลังใส่ฟันปลอมและรู้สึกลำบากก็สามารถเข้ารับการทำฟันเทียมได้เลย
รากฟันเทียม เป็นการรักษาฟันที่เสียหาย หรือฟันที่หมดสภาพในการใช้งานตามอายุ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่สูญเสียฟันจากอุบัติเหตุ ผู้ที่ใส่ฟันปลอม และอื่น ๆ สามารถเข้ามา ปลูกรากเทียม ได้ โดยรากฟันเทียมจะเข้ามาทดแทนรากฟันจริง ด้วยการรักษาทางทันตกรรมที่มีความปลอดภัย รากฟันเทียม สามารถอยู่ได้นาน 10-20 ปีขึ้นไป แต่จะต้องหมั่นมาเช็คสภาพกับคุณหมอเป็นประจำ